Built in Furniture ที่เป็นมากกว่าเฟอร์นิเจอร์

Built in Furniture

เฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน Built in Furniture มีประโยชน์มากหากว่าจัดสรรพื้นที่ภายในบ้าน/ห้องให้ดี กล่าวคือ พื้นที่ภายในห้องหรือบ้านที่มีจำกัด การออกแบบโดยเลือกใช้รูปแบบ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะมากกับพื้นที่ที่จำกัดหรือพื้นที่แคบ เพราะเราสามารถใส่ฟังก์ชันให้เป็นตู้เก็บของหรือเก็บอะไรที่ดูรกหูรกตาได้ซึ่งมันจะทำให้ห้องของคุณดูเป็นระเบียบมากขึ้นเป็นกองเลย

การ Built-in ตู้เข้ากับผนังเพื่อเป็นตู้ติดตายแล้วดีไซน์ให้กลืนกับผนังนั้นจะทำให้ห้องดูกว้างทั้งที่มีพื้นที่เท่าเดิมแฝงไปด้วยสาระพัดประโยชน์ เราอาจจะเพิ่มฟังก์ชันเป็นชั้นหนังสือบ้าง หรือแม้กระทั่งเป็นมุมโต๊ะทำงานก็สามารถทำได้ การออกแบบตู้แบบนี้เราจะได้ทั้งตู้ พื้นที่ชั้นวาง และพื้นที่ทำงานซึ่งมันเหมาะมากกับพื้นที่แคบ ๆ ในเรื่องของการดีไซน์เราเพียงเลือกใช้วัสดุที่เราชอบหรือที่เราต้องการตกแต่งหน้าบานได้ อาทิลามิเนตลายไม้ หน้าบานทำสีพ่นและเก็บขอบ ให้เรียบเนียนไปทั้งผนังและซ่อนมือจับไว้ แค่นี้คุณก็จะได้ตู้บิวท์อินที่เรียบเสมือนว่าเป็นผนังตกแต่งภายในห้องแต่แท้จริงแล้วมันคือตู้เก็บของยังไงล่ะ หากคุณอยากเพิ่มฟังก์ชันให้กับตู้ละก็เราแนะนำให้ติดเป็นกระจกเงาธรรมชาติสักหน้าบานหรือทุกบาน เพียงแค่นี้ห้องของคุณจะดูกว้างและเรียบหรูดูเป็นระเบียบสะอาดตาน่าอยู่ขึ้นหลายเท่า

Built in Furniture

ข้อดี ของ Built in Furniture คือเราสามารถจัดสรรพื้นที่ภายในบ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถเก็บของได้เยอะเป็นระเบียบ เหมาะกับห้องที่มีพื้นที่จำกัดเช่นคอนโด เป็นต้น

ขอเสีย-ของเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน เราไม่สามารถที่จะเคลื่อนย้ายหรือจัดพื้นที่ภายในห้องใหม่ได้เพราะเป็นตู้ติดตาย นอกเสียจากคุณจะรีโนเวทห้องและทำใหม่หากใครกำลังมองหาทางเลือกในการแต่งห้องหรือการรีโนเวทและคุณอยากให้ห้องเป็นระเบียบเก็บของได้หลากหลายประเภทมากด้วยฟังก์ชัน ก็ลองเลือกตามที่กล่าวมาข้างต้นนะ รับรองไม่ผิดหวังเลยแหละ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก : ROSE BARRAZA
เครดิต : ไฮโล
ติดตั้งม่านโปร่ง แบบง่ายๆ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *