เรื่องที่น่ารู้ของหินอ่อน …

เรื่องที่น่ารู้ของหินอ่อน

เรื่องที่น่ารู้ของหินอ่อน หนึ่งในวัสดุที่เป็นที่นิยมในงานออกแบบภายใน โดยเฉพาะผู้ที่นิยมในธรรมชาติ ชอบลวดลายที่มีความเป็นศิลปะสูง มีความเฉพาะตัว สีสันและลวดลายเส้นแร่สวยงามตามแต่ละชนิดของหินอ่อนลายนั้น วันนี้เลยจะขอมาอธิบายถึงการนำหินอ่อนมาใช้ในงานตกแต่งภายใน โดยเฉพาะงานพื้น ขอเน้นการนำหินอ่อนไปผ่านกระบวนการทำเทคนิคกับพื้นผิวหน้าหิน ให้เหมาะสมกับการใช้งานโดยอ้างอิงจากหนังสือ Interior design reference + specification book ของ Rockport เค้าแบ่งออกเป็นสามประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

พ่นไฟปั่นแปรง (Flamed or Thermal ) พื้นผิวหน้าหินที่มีความขรุขระโดยผ่านกระบวนการให้ความร้อนพ่นไปที่ผิวหน้าหิน แล้วให้ความเย็นฉับพลันเพื่อให้เกิด texture หน้าหินจะมีความขรุขระโดยมากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของลายหินอ่อนนั้นๆ  โดยเหมาะอย่างยิ่งกับการใช้งานพื้นภายในห้องอาบน้ำส่วนเปียกเช่นห้อง Shower เป็นต้น

ผิวด้าน ( Honed) พื้นผิวหน้าหินจะมีความเรียบ แต่ด้าน (Smooth satin ) เป็นที่นิยมมากเนื่องจากลักษณะพื้นผิวแบบด้านนี้จะแสดงออกถึงความสวยงามตามธรรมชาติของหินอ่อนได้สูงที่สุด แต่คำแนะนำคือไม่เหมาะถ้าจะนำพื้นผิวนี้ไปใช้ในหินอ่อนที่มีสีขาวเนื่องจากดูแลรักษายาก หากมีคราบเคมีเปื้นจะเกิดความเสียหายทำให้หินอ่อนเกิดคราบได้ง่าย

ผิวมันเงา (Polished) การเคลือบผิวหน้าหินให้เงา เพื่อให้ได้ความรู้สึกสว่าง และใหม่อยู่เสมอ ข้อดีคือตัวหินมีการเคลือบผิวมีความทนทานขึ้น แต่ข้อเสียคือความสวยงามตามธรรมชาติของวัสดุจะลดลง ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้มีการผลิตกระเบิ้องที่มีลายเหมือนหินอ่อนจนแทบแยกไม่ออกมามากมาย และส่วนใหญ่ราคากลับถูกกว่าหินอ่อนจริงเสียอีก

อย่างไรก็ตามการเลือกหินอ่อนมาใช้ อย่าให้ราคาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ เพราะอย่างไรก็ตาม ไม่มีกระเบื้องที่ไหนสามารถทำเลียนแบบได้เหมือนหินทุกอย่าง ไม่มีทาง และก็ไม่มีหินจริง หรือวัสดุใดๆที่ไม่เสื่อมสภาพตามกาลเวลาเมื่อเรานำมาใช้ในงานตกแต่งภายในครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก : ROSE BARRAZA
เครดิต : ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ
Corridor ตามห้องพักในโรงแรมห้าดาว

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *